เลือกห้อง

เรื่องของการเวียนเท...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

เรื่องของการเวียนเทียน

6 กระทู้
1 ผู้ใช้
0 Reactions
790 เข้าชม
กระทู้: 52
บุคคลทั่วไป
หัวข้อเริ่มต้น
(@ไม่ระบุชื่อ 2)
สมาชิก2
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา

เพราะว่าในเรื่องของการเวียนเทียนนั้น โดยประเพณีนิยมแต่โบร่ำโบราณมา บ้านเราเวียนเทียนกันอยู่แค่ ๔ วัน ก็คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา แล้วก็ วันอาสาฬหบูชา

วันมาฆบูชาเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ก็คือหลักคำสอนที่จะไปใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ก็คือแนะนำให้ญาติโยมทั้งหลาย ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส แล้วก็ยังเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร ก็คือตัดสินใจว่าอีก ๓ เดือนข้างหน้า จะปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา พวกเราส่วนใหญ่จะจำแค่ว่าเป็นวันแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

 

วันวิสาขบูชา คือวันที่พระองค์ท่าน ประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน ตามที่เราเข้าใจกันทุกคนอยู่แล้ว

 

วันอัฏฐมีบูชาเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พูดภาษาชาวบ้านคือ วันที่เผาพระพุทธเจ้า ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยมีการจัดงานวันอัฏฐมีบูชาแค่ไม่กี่แห่ง แล้วบ้านเราถือว่าโชคดีเพราะว่ามีพระแท่นดงรัง ซึ่งเขาเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์พระปรินิพพาน จึงมีการจัดงานวันอัฏฐมีบูชาด้วย

 

วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะว่าก่อนหน้านี้มีแต่พระพุทธและพระธรรมเท่านั้น จนกระทั่งพระอัญญาโกณฑัญญะรู้ทั่วถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการบวชโดยเอหิภิกขุอุปสัมปทา กลายเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงมีพระรัตนตรัยครบถ้วน

 

ในเมื่อเป็นวันสำคัญของทางพระพุทธศาสนา การสร้างบุญกุศลที่นิยมอย่างหนึ่ง ก็คือถวายบูชาด้วยแสงสว่างด้วยการการเวียนเทียน ดังนั้น..ในเรื่องของการเวียนเทียน ไม่ใช่ว่าคิดจะเวียนเทียนวันไหนก็ได้ แต่ว่าคนไทยเรามักจะมีนิสัยอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ไม่กล้าขัดผู้มีอำนาจ ในเมื่อเจ้านายสั่ง ต่อให้ผิดก็ต้องทำ สังคมบ้านเราจึงบิด ๆ เบี้ยว ๆ ไปหมด เพราะว่าทำสิ่งผิดจนกลายเป็นถูกไปมากมายแล้ว

ในส่วนนี้สำคัญตรงที่ว่า ถ้าท่านทั้งหลายเป็นนักปฏิบัติธรรมที่แท้จริง จะกล้าคัดค้านและกล้าพูด เพราะว่านักปฏิบัติธรรมที่แท้จริงจะเกิดเวสารัชชกรณธรรม คือหลักธรรมที่สร้างความกล้าให้เกิดแก่ตน ซึ่งประกอบไปด้วยสัทธา ก็คือความเชื่อมั่น โดยเฉพาะเชื่อมั่นในคุณพระศรีรัตนตรัย เชื่อมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อมั่นในผู้นำ เชื่อมั่นในตนเอง

ข้อที่สองก็คือพาหุสัจจะ ศึกษาเรียนรู้มามาก ในเมื่อเรียนรู้มามาก รู้ว่าอะไรถูกก็กล้าที่จะพูดในสิ่งที่ถูกต้อง โดยเฉพาะแก้ไขในสิ่งที่ผิดให้ถูก

ข้อต่อไปคือวิริยารัมภะ รู้จักปรารภความเพียร มีความขยันปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่งกำลังสมาธิสูงเท่าไร ยิ่งกลัวคนไม่เป็น

ถ้าหากว่าจะกล่าวถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งสูงสุด พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ชัดเจนว่า พระองค์ท่านนั่งอยู่ในหมู่ท้าวมหาพรหมก็ดี นั่งอยู่ในหมู่ท้าวมหาราชก็ดี นั่งอยู่ในหมู่พระมหากษัตริย์ก็ดี นั่งอยู่ในหมู่พราหมณ์มหาศาลก็ดี พระองค์ท่านไม่ได้มีความประหม่าเลย เพราะเชื่อมั่นว่าพระองค์ท่านตรัสรู้จริง หลักธรรมที่พระองค์ท่านสั่งสอน ทำให้คนรู้ทั่วถึงธรรมได้จริง

ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าใครที่ปฏิบัติตามหลักของเวสารัชชกรณธรรม ก็จะเป็นคนที่กล้าพูดกล้าทำโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะกล้าคัดค้านในสิ่งที่ผิด แก้ไขสังคมที่บิด ๆ เบี้ยว ๆ ของเรา ทำในสิ่งที่ผิดจนกลายเป็นถูก ให้กลับไปทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมือนเดิม

แต่ว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ท่านทั้งหลายถ้าจะยึดหลักว่าควรจะกระทำสักประมาณไหน ก็เอาแค่ในงานรับผิดชอบของตนเอง ถ้าหากว่าอย่างกระผม/อาตมภาพก็ทำอยู่แค่ตรงนี้ อะไรที่สูงไปกว่าขอบเขตอำนาจของตนเองก็จะไม่แตะ ถ้าอย่างนั้นโอกาสที่จะเดือดร้อนก็มีน้อย เพราะว่าบุคคลใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่ต่ำกว่า ก็รับฟังเราเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายก็อาจจะเหมือนกระผม/อาตมภาพ ก็คือโดนชาวบ้านเขาว่า "ดุอย่างกับหมา..!"

 

แต่คราวนี้ถ้าท่านทั้งหลายไม่แก้ในสิ่งที่ผิดให้ถูก พอนานไป ๆ สิ่งที่ผิดก็จะกลายเป็นถูกไปเอง เพราะคนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกัน อย่างที่วัดเรา เวลาตั้งโต๊ะหมู่บูชา เราจะไม่ตั้งโต๊ะกราบ เพราะว่าของเรากราบพระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ การตั้งโต๊ะกราบ ๑ ศีรษะ ๒ ศอก ๒ เข่า ไม่สามารถสัมผัสพื้นพร้อมกันได้ ก็แปลว่า การตั้งโต๊ะกราบเพื่อเอาใจบุคคลที่มีอำนาจ ซึ่งมักจะเป็นประธานในงานนั้น เป็นการกระทำที่ผิด..!

แต่ที่นี่..เฉพาะที่วัดท่าขนุน กระผม/อาตมภาพก็ใช้เวลาอยู่หลายปี กว่าที่จะแก้ไขตรงจุดนี้ได้ ก็คือถึงเวลาถ้ามีพระเถระหรือข้าราชการผู้ใหญ่มา ก็จะกราบเรียนหรือว่าอธิบายให้ทราบว่าทำไมถึงไม่มีโต๊ะกราบ จนกระทั่งปัจจุบันหลายแห่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรทำตาม ก็นำไปทำในสถานที่ของตนด้วย จึงเป็นเรื่องที่นอกจากจะต้องระมัดระวัง กระทำแค่ในของเขตอำนาจของตนเอง แล้วยังต้องระมัดระวังในเรื่องของการรู้จริงรู้แจ้งหรือไม่ ถ้าให้คนอื่นคัดค้านได้ สิ่งที่เราพูดไปก็จะไร้น้ำหนัก

เพียงแต่ว่าท่านทั้งหลายเอง บางทีก็ยังประมาณการไม่ถูก อย่างเช่นบางคนฟังธรรมะของหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง เกี่ยวกับโทษของนางขุชชุตตราที่ต้องเกิดเป็นทาสของคนอื่นเขา ๕๐๐ ชาติ พอถึงเวลาญาติโยมมาบอกให้ทำอะไรบางอย่าง ก็กล่าวโทษเขาทันทีว่า "ใช้พระ..!" แต่คราวนี้ญาติโยมบางทีก็ได้รับคำสั่งจากกระผม/อาตมภาพไปให้บอกกล่าวกับพระ แต่ท่านก็ถือความเถรตรง ซึ่งไม่รู้ว่าโง่หรือฉลาด ประมาณว่าถ้าไม่ใช่หลวงพ่อสั่งกูไม่ทำ ก็ขอให้มีความสุขความเจริญต่อไป..!

 

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
วันพฤหัสบดีที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
(ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)

 

ที่มาจากเว็บไซร์วัดท่าขนุน

https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=9316

5 ตอบกลับทั้งหมด
กระทู้: 52
บุคคลทั่วไป
หัวข้อเริ่มต้น
(@ไม่ระบุชื่อ 2)
สมาชิก2
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา

โพสโดย: @ไม่ระบุชื่อ

วันมาฆบูชาเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ก็คือหลักคำสอนที่จะไปใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ก็คือแนะนำให้ญาติโยมทั้งหลาย ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส แล้วก็ยังเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร ก็คือตัดสินใจว่าอีก ๓ เดือนข้างหน้า จะปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา พวกเราส่วนใหญ่จะจำแค่ว่าเป็นวันแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

 

ตอบ
กระทู้: 52
บุคคลทั่วไป
หัวข้อเริ่มต้น
(@ไม่ระบุชื่อ 2)
สมาชิก2
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา

โพสโดย: @ไม่ระบุชื่อ

วันอัฏฐมีบูชาเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พูดภาษาชาวบ้านคือ วันที่เผาพระพุทธเจ้า ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยมีการจัดงานวันอัฏฐมีบูชาแค่ไม่กี่แห่ง แล้วบ้านเราถือว่าโชคดีเพราะว่ามีพระแท่นดงรัง ซึ่งเขาเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์พระปรินิพพาน จึงมีการจัดงานวันอัฏฐมีบูชาด้วย

 

 

ตอบ
กระทู้: 52
บุคคลทั่วไป
หัวข้อเริ่มต้น
(@ไม่ระบุชื่อ 2)
สมาชิก2
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา

โพสโดย: @ไม่ระบุชื่อ

 ถ้าท่านทั้งหลายเป็นนักปฏิบัติธรรมที่แท้จริง จะกล้าคัดค้านและกล้าพูด เพราะว่านักปฏิบัติธรรมที่แท้จริงจะเกิดเวสารัชชกรณธรรม คือหลักธรรมที่สร้างความกล้าให้เกิดแก่ตน ซึ่งประกอบไปด้วยสัทธา ก็คือความเชื่อมั่น โดยเฉพาะเชื่อมั่นในคุณพระศรีรัตนตรัย เชื่อมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อมั่นในผู้นำ เชื่อมั่นในตนเอง

 

ตอบ
กระทู้: 52
บุคคลทั่วไป
หัวข้อเริ่มต้น
(@ไม่ระบุชื่อ 2)
สมาชิก2
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา

โพสโดย: @ไม่ระบุชื่อ

ถ้าหากว่าจะกล่าวถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งสูงสุด พระองค์ท่านตรัสเอาไว้ชัดเจนว่า พระองค์ท่านนั่งอยู่ในหมู่ท้าวมหาพรหมก็ดี นั่งอยู่ในหมู่ท้าวมหาราชก็ดี นั่งอยู่ในหมู่พระมหากษัตริย์ก็ดี นั่งอยู่ในหมู่พราหมณ์มหาศาลก็ดี พระองค์ท่านไม่ได้มีความประหม่าเลย เพราะเชื่อมั่นว่าพระองค์ท่านตรัสรู้จริง หลักธรรมที่พระองค์ท่านสั่งสอน ทำให้คนรู้ทั่วถึงธรรมได้จริง

 

ตอบ
หน้า 1 / 2
แบ่งปัน: